บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2018

สนธิสัญญาไซเตส ( CITES )

รูปภาพ
                                สัญลักษณ์ไซ เตส อนุ สัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์   ( อังกฤษ :   Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora ) หรือเรียกโดยย่อว่า   ไซเตส   ( CITES ) และเป็นที่รู้จักในชื่อ   อนุสัญญากรุงวอชิงตัน   (Washington Convention) เป็น สนธิสัญญา ซึ่งเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2518  ในปี พ.ศ. 2516   สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ   (IUCN) ได้จัดการประชุมนานาชาติขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อร่างอนุสัญญาดังกล่าว มีผู้เข้าร่วมประชุม 88 ประเทศ แต่มีผู้ลงนามรับรองอนุสัญญาฉบับนี้ทันทีเพียง 22 ประเทศ สำหรับ ประเทศไทย ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมด้วย แต่มาลงนามรับรองอนุสัญญาในปี พ.ศ. 2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 ปัจจุบัน ไซเตสมีภาคีทั้งสิ้น 181 รัฐ (ณ พฤษภาค...

สนธิสัญญา Rio de Janeiro

สนธิสัญญาRio (รีโอเดจาเนโร) ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายต่อมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ก่อให้เกิดก๊าซซึ่งไปเพิ่มปฏิกิริยาเรือนกระจก (Green House Effect) ในชั้นบรรยากาศ ที่ทำให้ความหนาแน่นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มมากขึ้นจากที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติเป็นอย่างมาก ผลของก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวจะทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นหรือที่เรียกกันว่า “ภาวะโลกร้อน” ทั้งที่ผิวโลกและในบรรยากาศ เป็นเหตุให้โลกร้อนขึ้นและน้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้นและท่วมบริเวณที่ต่ำ ชายฝั่งทะเล ภูมิอากาศจะแปรเปลี่ยนไปด้วย อุณหภูมิที่สูงขึ้นดังกล่าวจะส่งผลกระทบระบบนิเวศทางธรรมชาติและต่อมวลมนุษย์ด้วย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่มาจากในประเทศที่พัฒนาแล้ว ในขณะที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนายังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำแต่ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการด้านสังคมและการพัฒนาของตน ประเทศต่าง ๆ จึงควรร่วมมือแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่อากาศและกำจัดก๊าซบางชนิดให้ลดลง เนื่องจา...

สนธิสัญญาโรม

สนธิสัญญาโรม สนธิสัญญาโรม  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า  สนธิสัญญาจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป  เป็นความตกลงระหว่างประเทศซึ่งนำไปสู่การก่อตั้ง ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1958 มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1957 โดย เบลเยียม   ฝรั่งเศส   อิตาลี   ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ และ เยอรมนีตะวันตก  คำว่า "เศรษฐกิจ" ถูกลบออกจากชื่อสนธิสัญญา โดย สนธิสัญญามาสตริกต์  ใน ค.ศ. 1993 และสนธิสัญญาดังกล่าวเปลี่ยนใหม่เป็นสนธิสัญญาว่าด้วยการทำหน้าที่ของ สหภาพยุโรป  เมื่อ สนธิสัญญาลิสบอน มามีผลใช้บังคับใน ค.ศ. 2009 ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเสนอให้ค่อยๆ ปรับภาษีศุลกากรลดลง และจัดตั้งสหภาพศุลกากร มีการเสนอใช้จัดตั้งตลาดร่วมสินค้า แรงงาน บริการและทุนภายในรัฐสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป และยังได้เสนอให้จัดตั้งนโยบายการขนส่งและเกษตรร่วมและกองทุนสังคมยุโรป สนธิสัญญายังได้ก่อตั้งคณะกรรมาธิการยุโรป

สนธิสัญญาปารีส

สนธิสัญญาปารีส สนธิสัญญาปารีส  อาจหมายถึง ความตกลงหลายฉบับที่เจรจาและลงนามกันใน กรุงปารีส   ประเทศฝรั่งเศส  เป็นต้นว่า สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1229) , ระหว่า พระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส และ เรมงด์ที่ 7 เคานท์แห่งตูลูส  เพื่อยุติ สงครามครูเสดอัลบิเจ็นเซียน สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1259) , ระหว่าง พระเจ้าหลุยส์ที่ 10 แห่งฝรั่งเศส  และ  สมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แห่งอังกฤษ , เฮนรีสละสิทธิในนอร์ม็องดี สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1303) , ระหว่าง พระเจ้าฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส  และ  สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1323) ,  หลุยส์ที่ 1 เคานท์แห่งฟลานเดอร์ส สละการอ้างสิทธิใน เซแลนด์ สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1355) , การแลกเปลี่ยนดินแดนระหว่างราชอาณาจักรฝรั่งเศสกับซาวอย สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1623) , ระหว่าง  ฝรั่งเศส ,  ซาวอย  และ  เวนิส  เพื่อทำการฟื้นฟูดินแดน วาลเทลลินา  โดยการพยายามกำจัดกองทหารสเปนที่ตั้งมั่นอยู่ที่นั่น สนธิสัญญาปารีส (ค.ศ. 1657) , ระหว่าง  อังกฤษ และ  ฝรั่งเศส ...