อาเซียน
นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ยอมรับว่าก่อนก่อตั้งสหภาพยุโรป ชาติสมาชิกไม่ได้คาดคิดถึงปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่จะตามมา พร้อมทั้งเล็งเห็นศักยภาพของอาเซียน ที่จะเป็นคู่ค้าที่สำคัญของอียูในอนาคต
นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ยอมรับว่าก่อนก่อตั้งสหภาพยุโรป ชาติสมาชิกไม่ได้คาดคิดถึงปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่จะตามมา พร้อมทั้งเล็งเห็นศักยภาพของอาเซียน ที่จะเป็นคู่ค้าที่สำคัญของอียูในอนาคต
นายฌอง มาร์ค เอโรต์ นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ได้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในการกล่าวปาฏกถา หัวข้อ ความสำพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส และความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป ที่จัดขึ้น ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญด้านการลงทุน ตลอดจนการลงทุนระหว่างไทยกับกลุ่มอียู
ปัจจุบันอียูนับเป็นตลาดส่งออกอันดับสองของประเทศ โดยมีการส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรปคิดเป็นมูลค่า 7 แสนล้านบาทในปี 2553 แต่เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรปในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทำให้การส่งออกมามูลค่าลดลง ซึ่งนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ได้กล่าวถึงบทบาทของฝรั่งเศสต่อการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรป และให้ความเชื่อมั่นว่า อียูจะสามารถผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ไปได้ พร้อมกับย้ำว่า เงินยูโรยังคงเป็นสกุลเงินที่มีความน่าเชื่อถือ และปลอดภัยในการลงทุน
ก่อนหน้านี้ มีนักวิชาการและนักวิเคราะห์มองว่า หากอาเซียนรวมตัวกัน และดำเนินการเหมือนอียู อาจประสบกับปัญหาเช่นเดียวกับที่ยุโรปกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสได้แนะนำผู้นำกลุ่มประเทศอาเซียน ควรศึกษาบทเรียนจากอียู เพื่อวางมาตรการดูแลวินัยทางการเงินและการคลังของกลุ่มประเทศสมาชิก
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสยังกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอียูกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ ที่กำลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปลายปี 2558 ว่า อียูมีความสนใจในการเปิดตลาดเสรีอียู-อาเซียนเป็นอย่างมาก แต่การดำเนินการดังกล่าวจะต้องค่อยเป็นค่อยไป โดยอียูกับอาเซียน จะต้องได้ประโยชน์จากการเปิดการค้าเสรีอย่างเท่าเทียมกัน
วิกฤตเศรษฐกิจยุโรปที่เกิดขึ้น ถือเป็นบทเรียนสำคัญของอาเซียน ก่อนที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเริ่มขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า ขึ้นอยู่กับอาเซียนแล้วว่า จะนำบทเรียนดังกล่าวมาสร้างมาตรการรองรับวิกฤติเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้หรือไม่
นายฌอง มาร์ค เอโรต์ นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ได้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในการกล่าวปาฏกถา หัวข้อ ความสำพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส และความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหภาพยุโรป ที่จัดขึ้น ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญด้านการลงทุน ตลอดจนการลงทุนระหว่างไทยกับกลุ่มอียู
ปัจจุบันอียูนับเป็นตลาดส่งออกอันดับสองของประเทศ โดยมีการส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรปคิดเป็นมูลค่า 7 แสนล้านบาทในปี 2553 แต่เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรปในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทำให้การส่งออกมามูลค่าลดลง ซึ่งนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส ได้กล่าวถึงบทบาทของฝรั่งเศสต่อการแก้ไขวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรป และให้ความเชื่อมั่นว่า อียูจะสามารถผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ไปได้ พร้อมกับย้ำว่า เงินยูโรยังคงเป็นสกุลเงินที่มีความน่าเชื่อถือ และปลอดภัยในการลงทุน
ก่อนหน้านี้ มีนักวิชาการและนักวิเคราะห์มองว่า หากอาเซียนรวมตัวกัน และดำเนินการเหมือนอียู อาจประสบกับปัญหาเช่นเดียวกับที่ยุโรปกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสได้แนะนำผู้นำกลุ่มประเทศอาเซียน ควรศึกษาบทเรียนจากอียู เพื่อวางมาตรการดูแลวินัยทางการเงินและการคลังของกลุ่มประเทศสมาชิก
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสยังกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอียูกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ ที่กำลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปลายปี 2558 ว่า อียูมีความสนใจในการเปิดตลาดเสรีอียู-อาเซียนเป็นอย่างมาก แต่การดำเนินการดังกล่าวจะต้องค่อยเป็นค่อยไป โดยอียูกับอาเซียน จะต้องได้ประโยชน์จากการเปิดการค้าเสรีอย่างเท่าเทียมกัน
วิกฤตเศรษฐกิจยุโรปที่เกิดขึ้น ถือเป็นบทเรียนสำคัญของอาเซียน ก่อนที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเริ่มขึ้นในอีก 2 ปีข้างหน้า ขึ้นอยู่กับอาเซียนแล้วว่า จะนำบทเรียนดังกล่าวมาสร้างมาตรการรองรับวิกฤติเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้หรือไม่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น